Follow Us on Fanpage

About Doctor

นิ้วหัวแม่เท้าโก่ง

โรคนิ้วหัวแม่เท้าโก่ง

            ได้แก่  ภาวะที่มีการโก่งผิดรูปของนิ้วหัวแม่เท้า  มักโก่งออกด้านนอก  ทำให้มีส่วนนูนด้านในของเท้า  พบได้บ่อยในประชาชนวัยทำงาน  ที่มีอายุระหว่าง 40 – 70 ปี ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายมักพบร่วมกับโรคเท้าแบน

สาเหตุการเกิดโรค

            สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ  เชื่อว่าเกิดจากการใส่รองเท้าที่บีบแน่นด้านหน้า  หรือ  เมื่อเกิดเท้าแบน  นิ้วหัวแม่เท้าจึงบิดเข้าด้านในมากกว่าปกติบางครั้ง  อาจเกิดจากกรรมพันธุ์

อาการของโรค

            ปวดด้านในรองเท้า ตำแหน่งที่มีกระดูกนูน  บางครั้งมีชาออกปลายนิ้วหัวแม่เท้า ถ้านิ้วโก่งมาก นิ้วเท้าที่สองจะถูกเบียด  ขี่นิ้วหัวแม่เท้า  ใส่รองเท้าลำบาก

เมื่อพบแพทย์

            แพทย์จะตรวจว่ามีแนวหลังและขาผิดรูปหรือไม่  เท้าแบนร่วมด้วยหรือไม่ หาจุดกดเจ็บที่ปลายเท้า และ ดูความยืดหยุ่นของเอ็นร้อยหวาย

 

การรักษาที่สามารถทำเองได้

  1. การแช่น้ำอุ่นเพื่อลดอาการปวดอักเสบ
  2. การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  3. การเลือกใช้รองเท้าที่เหมาะสม

            3.1  หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงเนื่องจาก น้ำหนักตัวจะถ่ายเทไปยังปลายเท้าซึ่งจะทำให้ปวดมากขึ้น

           3.2 ใส่รองเท้าที่มีพื้นที่ปลายเท้ากว้าง (wide toe box) เพื่อหลีกเลี่ยงการกดของรองเท้าที่ตุ่มกระดูกนูน

          3.3  หนังที่ใช้ทำรองเท้าควรจะมีความยืดหยุ่นสูง

 

การเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยลดการกดทับของนิ้วเท้า ( Toe spacer or supporter) 

 

การรักษาเมื่อมาพบแพทย์

  1. การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและการอักเสบเฉพาะที่ เช่น การทำอัลตราซาวน์
  2. การปรับรองเท้าให้เหมาะสมโดยการใช้อุปกรณ์เสริมบริเวณอุ้งเท้าด้านใน  และปลายเท้า เพื่อแก้โรคเท้าแบน  ถ้าพบร่วมด้วย
  3. ถ้าการรักษาทุกอย่างทำให้อาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง  แพทย์จะพิจารณาถึงการรักษาโดยการผ่าตัด  เพื่อแก้นิ้วให้ตรงต่อไป

 

การป้องกัน

            การเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสมอาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรค  การออกกำลังกายเพื่อยืดเอ็นร้อยหวายอย่างสม่ำเสมอ  จะช่วยลดอาการปวดที่ปลายเท้าได้