Follow Us on Fanpage

About Doctor

โรคเท้า (Foot) ที่มากับอาหาร (Food)

จากสภาวะปัจจุบันที่ชีวิตของผู้คนนั้นสะดวกสบายยิ่งขึ้น การแพทย์และเทคโนโลยีทันสมัย มากขึ้น  แต่ในขณะเดียวกัน ผู้คนกลับต้องเผชิญ กับโรคภัยไข้เจ็บที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวโดยเฉพาะโรคในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน โรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนมากและเป็นกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุการตายในสิบอันดับแรกของไทย โรคเบาหวานนั้นส่งผลทั้งต่อระบบหลอด เลือดและประสาทด้วยโดยอวัยวะที่ได้รับผลกระทบหลักๆนั้นคือ ตา ไต และ เท้า

โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนของเท้าร่วมด้วยนั้น พบว่ามีลักษณะเท้าแบบ “ Charcot ‘s foot ”ซึ่งเป็นความผิด ปกติที่เกิดจาก ระบบประสาทของเท้า(diabetic neuropathy)

 อาการและประวัติส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมักมาด้วยประวัติการได้รับอุบัติเหตุ เล็กๆน้อยๆ หลังจากนั้น มีอาการอักเสบบริเวณเท้า ตามมา ซึ่งจะตรวจ พบว่าเท้านั้น มีลักษณะ บวม แดง ร้อนมากกว่า อีกข้างหนึ่ง คลำชีพจรที่หลังเท้า ได้ชัดเจนและบาง ครั้งอาจมีอาการปวดได้ 

 

 (รูปที่ 1 อาการและอาการแสดงของโรค)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาการในช่วงแรกนั้นจะแยกได้ยากจากโรคอื่นๆ เช่น โรคเก๊าท์หรือกระดูก ติดเชื้อ ระยะต่อมาอาการบวมแดงร้อนจะลดลง เหลือเพียงความผิดรูปของเท้าข้อเท้าในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอาจจะนุนมากจนเบียดผิวหนังทำให้เกิดแผลเรื้อรังใต้ฝ่าเท้าได้

  

(รูปที่ 2 ภาพฉายทางรังสีของโรค)

วิธีการรักษาของCharcot’s foot แบ่งออกได้เป็น 2  วิธีหลักๆ คือแบบผ่าตัดและ ไม่ผ่าตัดโดยมีจุดประสงค์หลักของการรักษานั้น เพื่อหยุดกระบวนการอักเสบที่เป็นสาเหตุของหลัก บรรเทาอาการปวด ทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ในการทำงานของเท้าและข้อเท้า และป้องกัน การเกิดแผลบริเวณเท้า

(รูปที่ 3 แผลที่เท้า)

การรักษาผู้ป่วยระยะแรกรักษาโดยการไม่ให้มีการลงน้ำหนักในบริเวณที่มีความผิดปกติ (Off loading)และป้องกันการเคลื่อนของข้อเท้าโดยการใส่เฝือกเบาหวานTotal contact cast หรือการใส่ แผ่นรองเท้าเบาหวาน

 

 

(รูปที่ 4 แผ่นรองเท้าเบาหวาน)

สำหรับการพิจารณาผ่าตัด หรือไม่นั้น ดูจากลักษณะอาการของผู้ป่วยและประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้รักษา  ซึ่งจะทำในกรณี

ถ้าผู้ป่วยมีอาการเกิดเป็นแผลซ้ำๆ, มีความไม่มั่นคงของข้อ, มีอาการปวดจากแนว กระดูกที่ผิดปกติ, มีกระดูกงอกที่รบกวนการเดิน หรือ มีภาวะแทรกซ้อนที่ผิวหนังหลังใส่เฝือก

ส่วนกรณีของการตัดขาได้มีงานวิจัยออกมาว่าการพิจารณาการตัดขาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเกิดเป็นแผลซ้ำๆ เรื้อรัง ในกลุ่มคนเหล่านี้อาจต้องได้รับ การรักษาโดยการตัดขามากถึง 36%

  

(รูปที่ 5 รูปแสดงเท้าหลังผ่าตัดและเฝือกเบาหวาน)

 

(รูปที่ 6 ภาพฉายทางรังสี เท้าหลังผ่าตัด)

จากผลสรุปแล้วพบว่าโรค Charcot’s foot โรคเท้าที่เกิดจากอาหาร (food) กระบวนการรักษา ดังกล่าวต้องใช้เวลาและส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วย  และที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือ เป็นอย่างดีทั้งจากทีมผู้รักษา ครอบครัวผู้ป่วย รวมทั้งตัวผู้ป่วยเองด้วยจึงจะทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ไม่ให้ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้น   โดยผู้ป่วยเบาหวานจะต้องระมัดระวังดูแลและ ตรวจสุขภาพของเท้าอยู่เสมอ  หมั่นออกกำลังกาย งดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ทำจิตใจให้ผ่อนคลายควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี  ตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำ เสมอ   และที่สำคัญคือการเลือกรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์และพอดี