การยืดเอ็นร้อยหวาย
(ท่าที่ 1) : ผู้ป่วยยืนหันหน้าเข้าหากำแพงใช้มือยันกำแพงไว้ วางเท้าที่ต้องการยืดเอ็นร้อยหวายไว้ข้างหลัง งอข้อศอกพร้อมกับย่อเข่าด้านหน้าลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยขาด้านหลังเหยียดตึงและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา ย่อลงจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึงแล้วค้างไว้นับ 1 – 10 ถือเป็น 1 ครั้ง
(ท่าที่ 2 ) : ผู้ป่วยนั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดเอ็นร้อยหวาย ใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ค้างไว้นับ 1 -10 ถือเป็น 1 ครั้ง
(ท่าที่ 3) : ผู้ป่วยยืนบนขอบพื้นต่างระดับ โน้มตัวไปข้างหน้าจนได้ความรู้สึกว่าเอ็นร้อยหวายและน่องตึง ค้างไว้นับ 1-10 ที ถือเป็น 1 ครั้ง
การรักษาเมื่อมาพบแพทย์
1 การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด และ อักเสบเฉพาะที่ เช่น การทำอัลตราซาวน์
2. การปรับรองเท้าให้เหมาะสม โดยการใช้แผ่นรองรองเท้าที่นุ่มและยืดหยุ่น
3. ตรวจวินิจฉัยแยกโรคจากโรคอื่นที่กล่าวมาแล้ว
4. หลีกเลี่ยงการฉีดยาสเตียรอยด์ตรง ตำแหน่งที่ปวด เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดเอ็นขาด
5. ถ้าการรักษาทุกอย่างทำให้อาการ ไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง แพทย์จะพิจารณาถึงการรักษา โดยการส่องกล้องผ่าตัดต่อไป
การป้องกัน
การออกกำลังกายเพื่อยืดเอ็นร้อยหวายอย่างสม่ำเสมอและการเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม จะช่วยลดความ เสี่ยงในการเกิดโรค และช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้