Follow Us on Fanpage

About Doctor

โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ  (Plantar fasciitis)

 

ได้แก่ภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของพังผืดใต้ฝ่าเท้า  เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประชาชนวัยทำงานที่มีอายุอยู่ระหว่าง 30 – 60 ปี ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอาชีพที่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ และมักพบร่วมกับการที่มีน้ำหนักตัวมากเกินกว่ามาตรฐาน

สาเหตุการเกิดโรค

            เกิดเนื่องมาจากการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สะสมมาเป็นเวลานาน จากการเดินนานๆ อาชีพที่ต้องยืนนานๆ การบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะ ที่กระดูกส้นเท้าจึงมีการอักเสบเรื้อรังไม่สามารถถูกซ่อมแซมโดยธรรมชาติให้หายสนิทก็ได้รับการบาดเจ็บซ้ำอีก  โดยการบาดเจ็บนี้มักพบร่วมกับการมีเอ็นร้อยหวายตึง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ  การขาดการออกกำลังกาย  ที่เหมาะสม

  

อาการของโรค

            อาการปวดส้นเท้า  มักจะมีอาการปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะสองสามก้าวแรกที่ลงเดินจากเตียง  เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการจะดีขึ้น  และในช่วงกลางวันหรือเย็น หลังจากยืนลงน้ำหนักเป็น ระยะเวลานานๆ  หากการอักเสบรุนแรงขึ้นอาการปวด อาจเป็นตลอดทั้งวัน เป็นมากขึ้นตลอดเวลาที่ยืนหรือเดินได้

 

เมื่อพบแพทย์

            แพทย์จะตรวจพบมีจุดกดเจ็บบริเวณใต้ส้นเท้าค่อนมาทางด้านใน  อาจมีอาการบวมหรือแดงของผิวหนัง ร่วมด้วย ตรวจพบว่ามีเอ็นร้อยหวายตึง  แพทย์จะทำการแยกออกจากโรคเส้นประสาทที่เท้าถูกกดทับ ไขมันที่ส้นเท้าฝ่อ กระดูกร้าวที่ส้นเท้า

 

การรักษาที่สามารถทำเองได้

1.   การแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อลดอาการปวด อักเสบ

  • การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์  (NSAIDs )
  • การออกกำลังกายเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย  วันละ 2 – 3 รอบ ๆ ละ 10 – 15 ครั้ง